แนวคิด MAMA model

 โครงการหลัก “มาม่าโมเดล” (MAMA model)

เพื่อการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตครอบครัวคนพิการอย่างยั่งยืนแบบองค์รวม

ในการประกอบอาชีพอิสระตามมาตรา 35 (7) การช่วยเหลืออื่นใด ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2 พ.ศ.2556 (การจ้างงานคนพิการ)

แผนงานดำเนินการปี พ.ศ.2564 สนับสนุนโดย บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) 

1) ชื่อโครงการ: โครงการหลัก “มาม่าโมเดล” (MAMA model) เพื่อการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตครอบครัวคนพิการอย่างยั่งยืนแบบองค์รวม

2) หลักการและเหตุผล:

        ที่ผ่านมา บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ได้ให้การสนับสนุน อดีตพนักงานที่เคยทำงานร่วมกับทางบริษัทฯ ต่อมาได้ประสบอุบัติเหตุบนถนนจนกลายเป็นคนพิการรุนแรง ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เป็นภาระครอบครัว เพราะต้องมีค่าใช้จ่ายประจำวันในการดูแลคนพิการในครอบครัว อันเนื่องจากเป็นคนพิการรุนแรงนอนติดเตียง โดยให้ใช้สิทธิ์ตามมาตรา 35 กับผู้ดูแลคนพิการแทน ดังนั้นในปี พ.ศ.2564 ทางผู้บริหารของ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) จึงมีดำริให้ยังคงให้การสนับสนุน อดีตพนักงานที่มีความพิการรุนแรงทั้ง 2 ราย และขยายขอบเขตการสนับสนุนไปยัง พนักงานปัจจุบัน ที่มีสถานะเป็น “ผู้ดูแลคนพิการ” หรือมีคนพิการอยู่ในครอบครัว ให้ได้รับการส่งเสริมอาชีพ “ครอบครัวคนพิการ” ทีเหมาะสมกับการดูแลคนพิการ ที่ร่วมกันอาศัยในครอบครัวเดียวกัน และมีนโยบายที่จะส่งเสริมอาชีพให้กับคนพิการและครอบครัวอื่นๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งทุกโครงการที่ทางบริษัทฯ สนับสนุน จะต้องถูกต้องตามกฎหมายตามสิทธิมาตรา 35 แห่ง พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

        ในการส่งเสริมสนับสนุนที่ผ่านมา รูปแบบของอาชีพอิสระหรือธุรกิจนั้น ต้องมีความเหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ ซึ่งได้มีการประเมินแล้วโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาอาชีพคนพิการ สำหรับที่ผ่านมามี 9 รูปแบบ คือ

1. อาชีพ/ ธุรกิจให้บริการงานช่างเครื่องปรับอากาศ

2. อาชีพ/ ธุรกิจให้บริการเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญสำหรับครอบครัวคนพิการ

3. อาชีพ/ ธุรกิจร้านค้าปลีกสำหรับครอบครัวคนพิการ

4. ธุรกิจ/ อาชีพจำหน่ายอาหารสำเร็จรูปด้วยรถเคลื่อนที่สำหรับครอบครัวคนพิการ 

5. อาชีพเลี้ยงวัวสำหรับครอบครัวคนพิการ

6. อาชีพเลี้ยงหมูสำหรับครอบครัวคนพิการ

7. อาชีพ/ ธุรกิจร้านตัดเย็บด้วยจักรอุตสาหกรรมสำหรับครอบครัวคนพิการ

8. อาชีพ/ ธุรกิจร้านกาแฟและน้ำผลไม้ปั่นสำหรับครอบครัวคนพิการ

9. อาชีพ/ ธุรกิจร้านกาแฟโบราณและผลิตเบเกอรี่สำหรับครอบครัวคนพิการ


         แนวทางที่บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) จะสนับสนุนส่งเสริมอาชีพทั้ง 9 รูปแบบนั้น ถูกพัฒนาขึ้นมาจากการประเมินความเป็นไปได้ทางธุรกิจ ที่จะทำให้ผู้ดูแลคนพิการ และครอบครัว สามารถที่จะนำไปประกอบอาชีพให้เหมาะสมกับบริบทในชุมชน สภาพแวดล้อม และศักยภาพของผู้ใช้สิทธิ์ตามมาตรา 35 จึงทำให้ทางบริษัทฯ มีความเชื่อมั่นว่า จะมีพัฒนาขึ้นทุกๆ ปี และเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับสถานประกอบการอื่นๆ ในประเทศไทย และมีความคาดหวังให้คนพิการ ผู้ดูแลคนพิการ และครอบครัว มีรายได้ที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้จริง อันเป็นเจตนารมย์ของกฎหมายที่ให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในประเทศไทย

          สำหรับปี พ.ศ.2564 การพิจารณาอาชีพหรือธุรกิจสำหรับครอบครัวคนพิการนั้น จะยังคงสนับสนุนตาม 9 รูปแบบ ที่ได้เคยดำเนินการมาแล้ว และยังเปิดกว้างให้แต่ละครอบครัวคนพิการได้เสนออาชีพหรือธุรกิจ ที่มีความเหมาะสมกับความเป็นอยู่ และมี “ความเป็นไปทางธุรกิจสำหรับครอบครัวคนพิการ” ที่จะทำให้สามารถสร้างรายได้ นำไปเลี้ยงดูคนพิการในครอบครัวได้จริง โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาอาชีพคนพิการ คอยให้คำแนะนำ  

3) แนวคิดสำคัญในการบูรณาการด้านอาชีพของครอบครัวคนพิการ:

          ปัจจุบันพบว่า คนพิการและผู้ดูแลคนพิการ จำนวนมากได้รับการอบรมอาชีพหลากหลายมาตลอดระยะเวลาหลายสิบปี จากกฎหมายฉบับเก่าที่มีรูปแบบการสงเคราะห์ สู่กฎหมายการส่งเสริมด้านสิทธิมนุษยชน หากแต่การทุจริตคอรัปชั่นของสมาคม/ มูลนิธิต่างๆ และการทุจริตประพฤติมิชอบของข้าราชการ กลับปิดบังโอกาสคนพิการและผู้ดูแลคนพิการ ให้ไม่ได้รับการส่งเสริมอาชีพจากมาตรา 35 อย่างเป็นระบบ อีกทั้งยังทำให้สถานประกอบการทั่วประเทศ ตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะต้องมาจ่ายเงินซ้ำสมทบเข้ากองทุนตามมาตรา 35 เนื่องจากไม่ทราบว่าสมาคม มูลนิธิ ใดบ้างที่เป็นองค์กรที่ทุจริตคอรัปชั่น

          (ดังปรากฎตามเอกสารแนบท้าย เป็นตัวอย่างหนังสือเรียกเก็บเงินสถานประกอบการ 2 บริษัท ในหน้า 316-317 มูลค่ารวมมากกว่า 5 ล้านบาท จากมูลค่ารวมเฉพาะสถานประกอบการซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่แห่งนี้ มีมูลค่ารวมมากกว่า 130 ล้านบาท ในอนาคตอันใกล้นี้ อันเนื่องจากมีการละเมิดสิทธิ์คนพิการและผู้ดูแลคนพิการของสถานประกอบการ ที่ไว้วางใจผ่านโครงการกับสมาคม/ มูลนิธิคนพิการ มากกว่า 1.5 หมื่นอัตราต่อปี หรือมูลค่า 1.5 พันล้านบาทต่อปี มาตลอด 5 ปี (พ.ศ.2559-2563) ทำให้มีการประเมินมูลค่าความเสียหายรวมมากว่า 7.5 พันล้านบาทที่ต้องเรียกเก็บเงินสมทบซ้ำจากสถานประกอบการ ตามมาตรา 34)

          แนวคิดสำคัญที่ 1 หลายปีที่ผ่านมา บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ได้ส่งเสริมอาชีพอิสระโดยตรงกับครอบครัวคนพิการอย่างต่อเนื่อง ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับสถานประกอบการอื่นๆ อีกทั้งยังสามารถหาคนพิการมาร่วมโครงการได้อย่างไม่ยากอย่างที่คิด ทำให้ความช่วยเหลือสนับสนุนอาชีพอิสระต่างๆ ที่ผ่านมา 9 รูปแบบ ถึงมือคนพิการอย่างแท้จริง ไม่ผ่านตัวกลาง เช่น สมาคม มูลนิธิ ที่อาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดการทุจริตโกงสิทธิ์คนพิการอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน  

          แนวคิดสำคัญที่ 2 บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) จะส่งเสริมอาชีพอิสระให้กับครอบครัวคนพิการตามความสมัครใจ ตามความถนัด ทั้งรูปแบบที่มีให้เลือกที่เคยให้การสนับสนุนที่ผ่านมา หรือ ครอบครัวคนพิการสามารถนำเสนออาชีพอิสระที่มีความถนัด หรือมีความสามารถที่จะดำเนินการได้อย่างดี สร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้จริง อาทิเช่น ผู้ดูแลคนพิการนอนติดเตียง ไม่สะดวกไปทำงานนอกบ้าน จึงมีความประสงค์ประกอบอาชีพเย็บผ้าด้วยจักรอุตสาหกรรมอยู่ที่บ้าน เป็นต้น ซึ่งการให้การสนับสนุนรูปแบบนี้มีความสำคัญตรงที่ ผู้ดูแลคนพิการมีความรู้ความสามารถเดิมจากการเคยเป็นลูกจ้างในโรงงานอุตสหกรรม จนเมื่อมีลูกประสบอุบัติเหตุและต้องมาดูแลจึงตัดสินใจขอรับการช่วยเหลือที่สอดคล้องกับบริบทของครอบครัวตนเอง เป็นไปตามหลักการ “ความเป็นไปได้ทางธุรกิจสำหรับครอบครัวคนพิการ”

          แนวคิดสำคัญที่ 3 บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) จะส่งเสริมอาชีพอิสระให้กับครอบครัวคนพิการที่เป็นอดีตพนักงานที่พิการ และพนักงานปัจจุบัน ที่มีสถานะเป็น “ผู้ดูแลคนพิการ” หรือมีคนพิการอยู่ในครอบครัว ให้ได้รับการส่งเสริมอาชีพ “ครอบครัวคนพิการ” เป็นสำคัญลำดับแรกก่อน (ตามเอกสารแนบท้าย ตัวอย่างพนักงานที่มีสถานะเป็นผู้ดูแลคนพิการ หน้าที่ 315) เพื่อเป็นต้นแบบให้กับสถานประกอบการอื่นได้ปฏิบัติตามต่อไป

4) รูปแบบอาชีพอิสระและธุรกิจที่สนับสนุน:      

          ตามแนวคิดของโครงการหลัก “มาม่าโมเดล” (MAMA model) เพื่อการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตครอบครัวคนพิการอย่างยั่งยืนแบบองค์รวม จะบูรณาการต้นทุนที่ครอบครัวคนพิการได้เคยรับมาก่อน หรืออาจจะยังไม่เคยได้รับมาก่อน อย่างเป็นระบบองค์รวม เพื่อความยั่งยืน โดยจะประกอบด้วยโครงการย่อยต่างๆ จำนวน 9 โครงการต้นแบบ พร้อมแนวคิดและเหตุผล ดังนี้

1. อาชีพ/ ธุรกิจให้บริการงานช่างเครื่องปรับอากาศ: เป็นโครงการต้นแบบที่ส่งเสริมคนพิการที่มีความสามารถทางด้านช่างในการดำเนินการ “ธุรกิจให้บริการด้านช่างเครื่องปรับอากาศ” แบบรายบุคคลในการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์และอะไหล่ ในการล้าง ติดตั้ง และซ่อมบำรุงเครื่องปรับอากาศ

2. อาชีพ/ ธุรกิจให้บริการเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญสำหรับครอบครัวคนพิการ: เป็นโครงการที่ส่งเสริมอาชีพให้กับครอบครัวคนพิการที่จะมีอาชีพ “การให้บริการเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญสำหรับครอบครัวคนพิการ เหมาะกับครอบครัวที่มีความจำเป็นต้องดูแลคนพิการอยู่บ้าน มีต้นทุนต่ำ เพียงค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า เป็นหลัก จึงทำให้มีผลกำไรมาก แต่ต้องมีจุดติดตั้งที่ใกล้กับชุมชนขนาดใหญ่มีจำนวนผู้ใช้บริการมาก เช่น คอนโดมิเนี่ยม หรือริมถนน เป็นต้น

3. อาชีพ/ ธุรกิจร้านค้าปลีกสำหรับครอบครัวคนพิการ: เป็นโครงการที่ง่าย สะดวก สำหรับครอบครัวคนพิการ เพราะการเปิด “ร้านค้าปลีกสำหรับครอบครัวคนพิการ” สามารถตอบสนองสิ่งแวดล้อมระดับชุมชนได้ง่าย มีผลกำไรระหว่าง 20-30% และยังตรงกับลักษณะการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ และเครือสหพัฒน์

4. ธุรกิจ/ อาชีพจำหน่ายอาหารสำเร็จรูปด้วยรถเคลื่อนที่สำหรับครอบครัวคนพิการ: เป็นอีกโครงการหนึ่งที่มีลักษณะต้องเคลื่อนตัวออกไปนอกบ้าน ด้วยรถยนต์ 3 ล้อ เครื่องยนต์เบนซิน 2 สูบ  เหมาะสำหรับครอบครัวคนพิการที่มีคนพิการพอจะช่วยเหลือตัวเองได้ จึงสามารถประกอบ “อาชีพจำหน่ายอาหารสำเร็จรูปด้วยรถเคลื่อนที่สำหรับครอบครัวคนพิการ ได้ กรณีที่ได้รับการสนับสนุนไปนั้น สามารถจำหน่ายมากถึงวันละ 3 รอบ (รอบเช้า รอบกลางวัน รอบดึก) (ต้นแบบที่จังหวัดชลบุรี)

5. ธุรกิจ/ อาชีพเลี้ยงวัวสำหรับครอบครัวคนพิการ: เป็นโครงการปศุสัตว์สำหรับครอบครัวคนพิการ “อาชีพเลี้ยงวัวสำหรับครอบครัวคนพิการ” ซึ่งจะเป็นโครงการต้นแบบที่จะพัฒนากลุ่มเป้าหมายให้มีการดำเนินการเลี้ยงวัว ในรูปแบบธุรกิจที่ยั่งยืน มีเป้าหมายชัดเจน ในการผลิตวัวให้มีคุณภาพ มีตลาดรองรับ ได้ราคาวัวที่มีราคาสูงจากแหล่งรับซื้อวัวที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน ซึ่งจะเป็นอาชีพต้นแบบให้กับครอบครัวคนพิการที่อยู่ตามชนบท (ต้นแบบที่จังหวัดกาฬสินธุ์)

6. อาชีพเลี้ยงหมูสำหรับครอบครัวคนพิการ: เป็นโครงการปศุสัตว์สำหรับครอบครัวคนพิการ “อาชีพเลี้ยงวัวสำหรับครอบครัวคนพิการ” เนื่องจากภรรยาของคนพิการเคยเป็นพนักงานในฟาร์มเลี้ยงหมู อีกทั้งสถานที่มีความเหมาะสมในการทำฟาร์มเลี้ยงหมู (ต้นแบบที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์)

7. อาชีพ/ ธุรกิจร้านตัดเย็บด้วยจักรอุตสาหกรรมสำหรับครอบครัวคนพิการ: เป็นโครงการนำร่องอีกโครงการหนึ่งที่นำเอาแนวคิดการเชื่อมโยงต้นทุนเดิมของคนพิการและผู้ดูแลคนพิการที่ผ่านการอบรมความรู้รด้านการตัดเย็บผ้าด้วยจักรอุตสาหกรรม แล้วมาได้รับสิทธิมาตรา 35 จาก บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) เพื่อทำ “ร้านตัดเย็บด้วยจักรอุตสาหกรรมสำหรับครอบครัวคนพิการ” ซึ่งอาจสามารถสร้งารายได้จากหลายช่องทาง เช่น ติดต่อลูกค้าไปยังสโมสรทีมฟุตบอลในไทยลีก หรือในลีกยุโรป เป็นต้น ในลักษณะธุรกิจเพื่อสังคม เพื่อให้กลุ่มลูกค้ามียอดสั่งซื้อสินค้าชำร่วย ที่เป็นสินค้าจากการตัดเย็บ อาทิเช่น เสื้อโชว์ติดท้ายรถยนต์ หมอน ป้ายธงแขวน ตุ๊กตา เป็นต้น หรือในอนาคตทางบริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) อาจมีออเดอร์สั่งซื้อสินค้าชำร่วยจากครอบครัวคนพิการที่ขอรับการสนับสนุนสิทธิมาตรา 35 นี้ได้ด้วย ทำให้ครอบครัวคนพิการที่เคยมีต้นทุนด้านองค์ความรู้จากการตัดเย็บเสื้อผ้าได้มีโอกาสทำธุรกิจที่มีความรู้ ความสามารถ เดิมอยู่แล้วได้เพื่อเป็นต้นแบบในการเชื่อมโยงธุรกิจอื่นๆ ต่อไป

8. อาชีพ/ ธุรกิจร้านกาแฟสดและน้ำผลไม้ปั่นสำหรับคนพิการ: เป็นโครงการที่มีการเหมาะสำหรับพื้นที่ สถานที่ชุมชน หรืออยู่ริมถนน และยังเป็นโครงการทดลองที่คนพิการเป็นผู้ประกอบการเปิด “ร้านกาแฟสดและน้ำผลไม้ปั่นสำหรับคนพิการ” โดยในบางช่วงเวลาจะมีการทดลองจ้างพนักงานมาจำหน่ายสินค้า ซึ่งสะท้อนทางกายภาพที่คนพิการที่มีความพิการมาก ไม่สะดวกที่จะมาจำหน่ายเองก็สามารถขอใช้สิทธิมาตรา 35 ได้เช่นกัน (ต้นแบบที่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา)

9. อาชีพ/ ธุรกิจร้านกาแฟโบราณและผลิตเบเกอรี่สำหรับครอบครัวคนพิการ: เป็นโครงการที่แตกต่างออกไปในรูปแบบของกาแฟโบราณ ซึ่งมีงบประมาณใช้จ่ายในการซื้อวัสดุอุปกรณ์เพียง 50% จึงทำให้สามารถนำไปซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตเบเกอรี่ได้อีก 50% ทำให้ได้ถึง 2 อาชีพในเวลาเดียวกัน เนื่องจากราคาของวัสดุอุปกรณ์แตกต่างจากการทำกาแฟสด ทำให้ “ร้านกาแฟโบราณและผลิตเบเกอรี่สำหรับครอบครัวคนพิการ” จึงมีความพิเศษได้ถึง 2 อาชีพในงบประมาณเดียว จึงมีความน่าสนใจเป็นพิเศษ (ต้นแบบที่จังหวัดสมุทรสาคร)

 

5) วัตถุประสงค์โครงการ:

       1. เพื่อให้คนพิการ ผู้ดูแลคนพิการ และผู้เกี่ยวข้อง มีองค์ความรู้สิทธิต่างๆ ของคนพิการตามกฎหมายการจ้างงานคนพิการ และการได้รับสิทธิต่างๆ อย่างถูกต้อง

       2. เพื่อสนับสนุนคนพิการและครอบครัวคนพิการ ที่มีความถนัด มีประสบการณ์ ในอาชีพที่ทำอยู่ แต่ยังขาดทุนทรัพย์ในการขยายความสามารถทางธุรกิจ เพิ่มรายได้ ยกระดับฐานะความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น มีความสุข และยั่งยืน

       3. เพื่อเป็นต้นแบบให้กับองค์กรหน่วยงานอื่น ในการสนับสนุนอาชีพคนพิการที่สามารถปฏิบัติได้จริง ตามกฎหมาย มาตรา 35 แห่ง พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ อยู่รอดตามกลไกทางด้านการตลาด สร้างความตระหนักสังคม เข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนส่งเสริมงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการอย่างแท้จริง

       4. เพื่อให้เกิดการรับรู้ภายในองค์กรของ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ในการให้การสนับสนุนอดีตพนักงาน และพนักงานปัจจุบัน ที่มีคนพิการในครอบครัว เป็นลำดับแรกก่อน อันเป็นค่านิยมที่ดีขององค์กรที่มีต่อพนักงาน

 

6) ขั้นตอนการดำเนินการ และระยะเวลาดำเนินการ:

       1. ภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2563 จัดประชุมเพื่อสรุปและกำหนดแนวทางการดำเนินการ อาทิเช่น การยื่นเรื่อง การประชาสัมพันธ์ไปยังโรงงานสาขาต่างๆ เพื่อให้ฝ่ายบุคคลรรับเรื่องไปรับสมัครกับพนักงานของตนเอง    

       2. ภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2563 ฝ่ายบุคคลของแต่ละโรงงาน ประชาสัมพันธ์โครงการ รับสมัครพนักงานที่มีสถานะเป็นผู้ดูแลคนพิการ (ตามตัวอย่างแนบท้ายโครงการ) หรือมีคนพิการอยู่ร่วมกันในครอบครัว และคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ

       3. ภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2563 ที่ปรึกษาโครงการ สัมภาษณ์และจัดทำเอกสารสำหรับการยื่นรื่องในการขออนุมัติเห็นชอบโครงการกับจัดหางานพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร

       4. ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 ยื่นรื่องในการขออนุมัติเห็นชอบโครงการกับจัดหางานพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร

       5. ระหว่าง 1 ธันวาคม 2563 – 31 มกราคม 2564 ดำเนินการโอนเงินไปยังครอบครัวคนพิการเพื่อให้ดำเนินการแล้วเสร็จตามเรื่องที่ได้รับการอนุมัติเห็นชอบโครงการ

       6. ระหว่าง 1 กุมภาพันธ์ – 30 เมษายน 2564 ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ และฝ่ายสื่อสารองค์กร ออกตรวจเยี่ยม และส่งมอบการให้การสนับสนุนอาชีพอิสระครอบครัวคนพิการ

       7. ภายใน 31 พฤษภาคม 2564 สรุปผลการดำเนินการเพื่อการประชาสัมพันธ์ต่อไป

 

7) งบประมาณ และกลุ่มเป้าหมาย: โครงการหลัก “มาม่าโมเดล” (MAMA model) เพื่อการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตครอบครัวคนพิการอย่างยั่งยืนแบบองค์รวม จำนวน 33 ราย มูลค่ารวม 3,709,860 บาท (สามล้านเจ็ดแสนเก้าพันแปดร้อยหกสิบบาทถ้วน) โดยคาดการณ์ในการพิจารณาการให้การสนับสนุนกับกลุ่มเป้าหมาย แบ่งเป็นลำดับดังนี้

 

       1. อดีตพนักงานที่ประสบอุบัติเหตุจนพิการรุนแรง จำนวน 2 ราย มูลค่ารวม 224,840 บาท (สองแสนสองหมื่นสี่พันแปดร้อยสี่สิบบาทถ้วน)

 

       2. พนักงานที่มีสถานะเป็นผู้ดูแลคนพิการ หรือพนักงานที่มีคนพิการอาศัยอยู่ในครอบครัว (พิสูจน์ได้) จำนวน 21 ราย มูลค่ารวม 2,360,820 บาท (สองล้านสามแสนหกหมื่นแปดร้อยยี่สิบบาทถ้วน)

 

       3. ครอบครัวคนพิการที่ได้รับผลกระทบจากการถูกโกงสิทธิ์คนพิการตามมาตรา 35 จาก 2 จังหวัด (จังหวัดกาฬสินธุ์ และ จังหวัดสมุทรสาคร) ซึ่งมีฐานะยากจนและไม่ได้รับความช่วยเหลือใดๆ จากหน่วยงานรัฐ จังหวัดละ 5 ราย รวมจำนวน 10 ราย มูลค่ารวม 1,124,200 บาท (หนึ่งล้านหนึ่งแสนสองหมื่นสี่พันสองร้อยบาทถ้วน)

 

8) สิ่งที่คาดว่าจะได้รับ:

 

       1. เพื่อให้คนพิการ ผู้ดูแลคนพิการ และผู้เกี่ยวข้อง สามารถนำองค์ความรู้ด้านกฎหมายและสิทธิต่างๆ นำไปปรับใช้ให้ตนเองและครอบครัวสามารถเข้าถึงสิทธิ์ได้ อีกทั้งยังสามารถแนะนำเพื่อนคนพิการด้วยกันเอง ครอบครัวคนพิการ และผู้เกี่ยวข้องในชุมชนถึงสิทธิมาตรา 35 ที่ถูกต้อง

       2. เพื่อให้คนพิการและครอบครัวที่มีต้นทุนเดิม มีความรู้ที่เคยผ่านการอบรมมาแล้ว เห็นตัวอย่างโครงการต่างๆ เป็นต้นแบบ และนำไปเป็นแรงจูงใจ แรงบันดาลใจ ที่จะเข้าถึงสิทธิต่างๆ ตามกฎหมาย ในการเข้าถึงกองทุนต่างๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุนการประกอบอาชีพแบบให้เปล่า เช่น สิทธิมาตรา 35 แห่ง พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ที่มีมูลค่า 112,420 บาท เป็นต้น

       3. เพื่อให้หน่วยงานรัฐ สถานประกอบการเอกชน องค์กรอิสระ องค์กรสาธารณประโยชน์ เห็นโครงการต่างๆ เป็นตัวอย่าง เป็นต้นแบบ และนำไปปรับใช้ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ หรือถูกต้องตามกฎหมาย และส่งเสริมสนับสนุนด้านอาชีพให้กับคนพิการและครอบครัวอย่างแท้จริง

       4. เพื่อให้อดีตพนักงานที่พิการ และพนักงานที่ทำงานกับบริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ที่มีคนพิการอยู่ในครอบครัว ได้รับสิทธิมาตรา 35 ก่อนเป็นลำดับแรก และทำให้พนักงานทุกท่านในองค์กรทราบถึงเจตนารมณ์ที่ดีที่มีต่อพนักงานและอดีตพนักงาน

9) หน่วยงานหรือผู้ดำเนินการโครงการ:

          นายสรยุทธ รักษาศรี ผู้รับผิดชอบโครงการ 092-246-4164

          นายปรีดา ลิ้มนนทกุล ที่ปรึกษาโครงการ 086-314-7866 (LINE)



28 มิถุนายน 2564 @ โครงการ MAMA model ส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการ (พนักงานบริษัทมาม่า) ตอนที่ 30/31 @ ส่งเสริมอาชีพ ร้านค้าปลีก จังหวัดน่าน: สำหรับตอน 30/31 จึงเป็นครอบครัวคนพิการ ที่เป็นอดีตพนักงานมาม่า ที่ประสบอุบัติเหตุจนนอนติดเตียง ไม่รับรู้สิ่งใดอีกแล้ว อันเนื่องจากสมองได้รับการกระทบกระเทือนนอย่างสาหัส คุณพ่อคุณแม่ เป็นคนดูแลอยู่ตลอดเวลา บริษัทมาม่าได้ให้การสนับสนุนครอบครัวนี้มาหลายปีแล้ว เพราะผู้บริหารมีนโยบายที่จะช่วยเหลือสนับสนุนอดีตพนักงานในลำดับแรก อาจเรียกได้ว่าครอบครัวพนักงานบริษัทมาม่าครอบครัวนี้ เป็นอีกตัวอย่างที่ทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของโครงการ "มาม่าโมเดล" (MAMA model) ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปี 2564 นี้ครับ ผู้อ่านทุกท่านตามอ่านรายละเอียดที่ถูกต้องตามกฎหมายไปด้วย ได้ศึกษาตัวอย่างจริงไปด้วยครับ ......อ่านต่อ


27 มิถุนายน 2564 @ โครงการ MAMA model ส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการ (พนักงานบริษัทมาม่า) ตอนที่ 29/31 @ ส่งเสริมอาชีพเลี้ยงวัว จังหวัดกาฬสินธุ์: 
สำหรับตอน 29/31 จึงเป็นครอบครัวคนพิการ ที่ไม่ใช่พนักงานมาม่า แต่เป็นครอบครัวที่เคยถูกสมาคม/มูลนิธิด้านคนพิการ โกงสิทธิ์ไปและไม่ได้รับความเป็นธรรม เราในฐานะที่เป็นตัวกลาง "ดับบลิวโอ" WO (Workable Organization) จึงขอนำเสนอข้อมูลให้คนพิการ ครอบครัวคนพิการ และสถานประกอบการ ได้ทราบถึงข้อมูลที่ต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง เพื่อไม่ริดรอนสิทธิตามกฎหมาย เต็มมูลค่า 114,245 บาท ตามอ่านได้เลยครับ ซึ่งครอบครัวนี้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของโครงการ "มาม่าโมเดล" (MAMA model) ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปี 2564 นี้ครับ ผู้อ่านทุกท่านตามอ่านรายละเอียดที่ถูกต้องตามกฎหมายไปด้วย ได้ศึกษาตัวอย่างจริงไปด้วยครับ .....อ่านต่อ

24 มิถุนายน 2564 @ โครงการ MAMA model ส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการ (พนักงานบริษัทมาม่า) ตอนที่ 28/31 @ ส่งเสริมอาชีพปลูกเห็ดและเย็บผ้า จังหวัดลำพูน: สำหรับตอน 28/31 เป็นครอบครัวคนพิการ ที่เป็นพนักงานมาม่า ที่มีความประสงค์จะให้ครอบครัว  ประกอบอาชีพเย็บผ้า ด้วยจักรอุตสาหกรรม ซึ่งมีประสบการณ์อยู่แล้ว แต่ไม่มีทุนและเครื่องมือ อุปกรณ์และจักรเย็บผ้า หากได้รับทุนจากบริษัทมาม่า เงินจะมากพอนำแบ่งไปลงทุนทำเรือนเพาะเห็ดเพิ่มอีกอาชีพ ซึ่งครอบครัวนี้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของโครงการ "มาม่าโมเดล" (MAMA model) ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปี 2564 นี้ครับ ผู้อ่านทุกท่านตามอ่านรายละเอียดที่ถูกต้องตามกฎหมายไปด้วย ได้ศึกษาตัวอย่างจริงไปด้วยครับ .....อ่านต่อ

23 มิถุนายน 2564 @ โครงการ MAMA model ส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการ (พนักงานบริษัทมาม่า) ตอนที่ 27/31 @ ส่งเสริมอาชีพร้านอาหารตามสั่ง จังหวัดนครปฐม: สำหรับตอน 27/31 เป็นครอบครัวคนพิการ ที่เป็นพนักงานมาม่า ที่มีความประสงค์จะให้ครอบครัว  ประกอบอาชีพร้านอาหารตามสั่ง เนื่องจาก เปิดร้านอยู่แล้ว แต่วัสดุอุปกรณ์เก่ามาก หากได้ทุนจากบริษัทมาม่า จะนำมาปรับปรุงร้าน จัดซื้อจานชามช้อนใหม่ เปิดร้านขายน้ำปั่น เป็นลักษณะซุ้มร้าน จจัดซื้อโต๊ะเก้าอี้สำหรับลูกค้าใหม่  ซึ่งครอบครัวนี้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของโครงการ "มาม่าโมเดล" (MAMA model) ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปี 2564 นี้ครับ ผู้อ่านทุกท่านตามอ่านรายละเอียดที่ถูกต้องตามกฎหมายไปด้วย ได้ศึกษาตัวอย่างจริงไปด้วยครับ .....อ่านต่อ

22 มิถุนายน 2564 @ โครงการ MAMA model ส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการ (พนักงานบริษัทมาม่า) ตอนที่ 26/31 @ ส่งเสริมอาชีพเลี้ยงไก่ไข่ จังหวัดราชบุรี: สำหรับตอน 26/31 เป็นครอบครัวคนพิการ ที่เป็นพนักงานมาม่า ที่มีความประสงค์จะให้ครอบครัวเลี้ยงไก่ไข่ เนื่องจากเป็นอาชีพที่มีความสนใจ  แต่ยังขาเงินลงทุน เมื่อบริษัทมาม่า ให้โอกาสจึงอยากนำเงินงบประมาณตามมาตรา 35 มาดำเนินการ โดยจะแบ่งเงินส่วนหนึ่งจากการขายไข่ เก็บเป็นต้นทุนซื้อแม่ไก่ มาทดแทนแม่ไก่ที่ไม่สามารถออกไข่ได้แล้ว ซึ่งจะทำให้เป็นอาชีพที่ยั่งยืนต่อไป ซึ่งครอบครัวนี้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของโครงการ "มาม่าโมเดล" (MAMA model) ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปี 2564 นี้ครับ ผู้อ่านทุกท่านตามอ่านรายละเอียดที่ถูกต้องตามกฎหมายไปด้วย ได้ศึกษาตัวอย่างจริงไปด้วยครับ .....อ่านต่อ

21 มิถุนายน 2564 @ โครงการ MAMA model ส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการ (พนักงานบริษัทมาม่า) ตอนที่ 25/31 @ ส่งเสริมอาชีพเลี้ยงไก่ไข่และไก่บ้าน จังหวัดบุรีรัมย์: สำหรับตอน 25/31 เป็นครอบครัวคนพิการ ที่เป็นพนักงานมาม่า ที่มีความประสงค์จะให้ครอบครัวเลี้ยงไก่ไข่และไก่บ้าน เนื่องจากเป็นอาชีพที่เคยทำก่อนแล้ว มีประสบการณ์ แต่ยังขาดเงินลงทุน เมื่อบริษัทมาม่า ให้โอกาสจึงอยากนำเงินงบประมาณตามมาตรา 35 มาดำเนินการ โดยจะแบ่งเงินส่วนหนึ่งจากการขายไข่และไก่บ้าน เก็บเป็นต้นทุนซื้อแม่ไก่ มาทดแทนแม่ไก่ที่ไม่สามารถออกไข่ได้แล้ว ซึ่งจะทำให้เป็นอาชีพที่ยั่งยืนต่อไป ซึ่งครอบครัวนี้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของโครงการ "มาม่าโมเดล" (MAMA model) ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปี 2564 นี้ครับ ผู้อ่านทุกท่านตามอ่านรายละเอียดที่ถูกต้องตามกฎหมายไปด้วย ได้ศึกษาตัวอย่างจริงไปด้วยครับ ......อ่านต่อ

20 มิถุนายน 2564 @ โครงการ MAMA model ส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการ (พนักงานบริษัทมาม่า) ตอนที่ 24/31 @ ส่งเสริมอาชีพเลี้ยงวัว จังหวัดหนองบัวลำภู: สำหรับตอน 24/31 เป็นครอบครัวคนพิการ ที่เป็นพนักงานมาม่า ที่มีความประสงค์จะเลี้ยงวัว เพราะเป็นอาชีพที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ ของครอบครัว จึงตัดสินใจเลี้ยงวัว หากได้รับโอกาสสนับสนุนเงิน 114,245 บาท จากบริษัทมาม่า ซึ่งครอบครัวนี้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของโครงการ "มาม่าโมเดล" (MAMA model) ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปี 2564 นี้ครับ ผู้อ่านทุกท่านตามอ่านรายละเอียดที่ถูกต้องตามกฎหมายไปด้วย ได้ศึกษาตัวอย่างจริงไปด้วยครับ .....อ่านต่อ

19 มิถุนายน 2564 @ โครงการ MAMA model ส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการ (พนักงานบริษัทมาม่า) ตอนที่ 23/31 @ ส่งเสริมอาชีพเลี้ยงควาย จังหวัดหนองบัวลำภู: สำหรับตอน 23/31 เป็นครอบครัวคนพิการ ที่เป็นพนักงานมาม่า ที่มีความประสงค์จะเลี้ยงควาย เพราะเป็นอาชีพที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ ของครอบครัว มีคอกเดิมอย่แล้ว หากได้รับการสนับสนุนเงิน 114,245 บาท จากบริษัทมาม่า จึงตั้งใจซื้อแต่ควายมาจำนวน 2 ตัว เท่านั้น ซึ่งครอบครัวนี้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของโครงการ "มาม่าโมเดล" (MAMA model) ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปี 2564 นี้ครับ ผู้อ่านทุกท่านตามอ่านรายละเอียดที่ถูกต้องตามกฎหมายไปด้วย ได้ศึกษาตัวอย่างจริงไปด้วยครับ .....อ่านต่อ

18 มิถุนายน 2564 @ โครงการ MAMA model ส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการ (พนักงานบริษัทมาม่า) ตอนที่ 22/31 @ ส่งเสริมอาชีพร้านจำหน่ายกาแฟสดและกาแฟโบราณ จังหวัดลำพูน: สำหรับตอน 22/31 เป็นครอบครัวคนพิการ ที่เป็นพนักงานมาม่า ที่มีความประสงค์จะให้ครอบครัวเปิดร้านจำหน่ายกาแฟสด และกาาแฟโบราณ เนื่องจากหน้าบ้านมีทำเล ที่เหมาะม ติดถนนสัญจรไปมา น่าจะสามารถดำเนินการธุรกิจร้านกาแฟได้ เพียงขาดทุนทรัพย์ เมื่อบริษัทมาม่า ให้โอกาสจึงอยากนำเงินงบประมาณตามมาตรา 35 มาดำเนินการ อาชีพนี้ให้เป็นอาชีพที่ยั่งยืนต่อไป ซึ่งครอบครัวนี้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของโครงการ "มาม่าโมเดล" (MAMA model) ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปี 2564 นี้ครับ ผู้อ่านทุกท่านตามอ่านรายละเอียดที่ถูกต้องตามกฎหมายไปด้วย ได้ศึกษาตัวอย่างจริงไปด้วยครับ  .....อ่านต่อ

17 มิถุนายน 2564 @ โครงการ MAMA model ส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการ (พนักงานบริษัทมาม่า) ตอนที่ 21/31 @ ส่งเสริมอาชีพเลี้ยงหมู จังหวัดราชบุรี: สำหรับตอน 21/31 เป็นครอบครัวคนพิการ ที่เป็นพนักงานมาม่า ที่มีความประสงค์จะให้ครอบครัวเลี้ยงหมู เนื่องจากมีประสบการณ์ มีคอกหมูเดิมอยู่แล้ว เพียงขาดทุนทรัพย์ในการเริ่มดำเนินการ เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และมีภาระมาก  เมื่อบริษัทมาม่า ให้โอกาสจึงอยากนำเงินงบประมาณตามมาตรา 35 มาดำเนินการ อาชีพนี้ให้เป็นอาชีพที่ยั่งยืนต่อไป ซึ่งครอบครัวนี้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของโครงการ "มาม่าโมเดล" (MAMA model) ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปี 2564 นี้ครับ ผู้อ่านทุกท่านตามอ่านรายละเอียดที่ถูกต้องตามกฎหมายไปด้วย ได้ศึกษาตัวอย่างจริงไปด้วยครับ .....อ่านต่อ

17 มิถุนายน 2564 @ โครงการ MAMA model ส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการ (พนักงานบริษัทมาม่า) ตอนที่ 20/31 @ ส่งเสริมอาชีพเลี้ยงไก่พื้นบ้าน จังหวัดลำพูน: สำหรับตอน 20/31 เป็นครอบครัวคนพิการ ที่เป็นพนักงานมาม่า ที่มีความประสงค์จะให้ครอบครัวเลี้ยงไก่พื้นบ้าน เนื่องจากไก่พื้นบ้านอึด อดทน กับโรคต่างๆ เลี้ยงง่าย และเป็นที่นิยมในพื้นที่ เพราะใกล้กับชุมชนชาวดอย ที่สามารถแวะเวียนมาซื้อได้ง่า  เมื่อบริษัทมาม่า ให้โอกาสจึงอยากนำเงินงบประมาณตามมาตรา 35 มาดำเนินการ อาชีพนี้ให้เป็นอาชีพที่ยั่งยืนต่อไป ซึ่งครอบครัวนี้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของโครงการ "มาม่าโมเดล" (MAMA model) ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปี 2564 นี้ครับ ผู้อ่านทุกท่านตามอ่านรายละเอียดที่ถูกต้องตามกฎหมายไปด้วย ได้ศึกษาตัวอย่างจริงไปด้วยครับ .....อ่านต่อ

16 มิถุนายน 2564 @ โครงการ MAMA model ส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการ (พนักงานบริษัทมาม่า) ตอนที่ 19/31 @ ส่งเสริมอาชีพเลี้ยงปลาดุกและเลี้ยงไก่ไข่ จังหวัดราชบุรี: สำหรับตอน 19/31 เป็นครอบครัวคนพิการ ที่เป็นพนักงานมาม่า ที่มีความประสงค์จะเลี้ยงปลาดุกและไก่ไข่  ซึ่งไม่เคยเลี้ยง แต่มีเพื่อนบ้านที่เลี้ยงจึงมีที่ปรึกษา และทราบว่ามีกำไรดี จึงอยากทดลองประกอบอาชีพนี้ดู เพราะดีใจมากที่ได้โอกาสจากบริษัทมาม่า ซึ่งครอบครัวนี้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจ ของโครงการ "มาม่าโมเดล" (MAMA model) ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปี 2564 นี้ครับ ผู้อ่านทุกท่านตามอ่านรายละเอียดที่ถูกต้องตามกฎหมายไปด้วย ได้ศึกษาตัวอย่างจริงไปด้วยครับ .....อ่านต่อ

16 มิถุนายน 2564 @ โครงการ MAMA model ส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการ (พนักงานบริษัทมาม่า) ตอนที่ 18/31 @ ส่งเสริมอาชีพบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศและรถยนต์ จังหวัดราชบุรี: สำหรับตอน 18/31 เป็นครอบครัวคนพิการ ที่เป็นพนักงานมาม่า ที่มีความประสงค์จะประกอบอาชีพในการล้างรถ ซ่อมบำรุงรถ ล้างแอร์รถยนต์ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง รวมถึงการล้างเครื่องปรับอากาศตามบ้าน เนื่องจากลูกชายเรียนสายช่าง และทางพนักงานมาม่า เป็นผู้บริหารกิจการนี้ ซึ่งครอบครัวนี้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของโครงการ "มาม่าโมเดล" (MAMA model) ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปี 2564 นี้ครับ ผู้อ่านทุกท่านตามอ่านรายละเอียดที่ถูกต้องตามกฎหมายไปด้วย ได้ศึกษาตัวอย่างจริงไปด้วยครับ .....อ่านต่อ

15 มิถุนายน 2564 @ โครงการ MAMA model ส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการ (พนักงานบริษัทมาม่า) ตอนที่ 17/31 @ ส่งเสริมอาชีพเลี้ยงวัว จังหวัดรัง: สำหรับตอน 17/31 เป็นครอบครัวคนพิการ ที่เป็นพนักงานมาม่า ที่มีความประสงค์จะเลี้ยงวัว เพราะเป็นอาชีพที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ ของครอบครัวเนื่องจากมีสวน มีหญ้า ขึ้นเต็มพื้นที่ คุณอำนาจซึ่งพิการทางการได้ยิน เดินสะดวก ดูแลฝูงวัวได้ จึงตัดสินใจเลี้ยงวัว  ซึ่งครอบครัวนี้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของโครงการ "มาม่าโมเดล" (MAMA model) ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปี 2564 นี้ครับ ผู้อ่านทุกท่านตามอ่านรายละเอียดที่ถูกต้องตามกฎหมายไปด้วย ได้ศึกษาตัวอย่างจริงไปด้วยครับ .....อ่านต่อ

15 มิถุนายน 2564 @ โครงการ MAMA model ส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการ (พนักงานบริษัทมาม่า) ตอนที่ 16/31 @ ส่งเสริมอาชีพเลี้ยงไก่ไข่ จังหวัดชลบุรี: 
สำหรับตอน 16/31 เป็นครอบครัวคนพิการ ที่เป็นพนักงานมาม่า ที่มีความประสงค์จะให้ครอบครัวเลี้ยงไก่ไข่ เนื่องจากเป็นอาชีพที่เคยทำก่อนแล้ว มีประสบการณ์ แต่ยังขาเงินลงทุนขยายงาน เมื่อบริษัทมาม่า ให้โอกาสจึงอยากนำเงินงบประมาณตามมาตรา 35 มาดำเนินการ โดยจะแบ่งเงินส่วนหนึ่งจากการขายไข่ เก็บเป็นต้นทุนซื้อแม่ไก่ มาทดแทนแม่ไก่ที่ไม่สามารถออกไข่ได้แล้ว ซึ่งจะทำให้เป็นอาชีพที่ยั่งยืนต่อไป ซึ่งครอบครัวนี้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของโครงการ "มาม่าโมเดล" (MAMA model) ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปี 2564 นี้ครับ ผู้อ่านทุกท่านตามอ่านรายละเอียดที่ถูกต้องตามกฎหมายไปด้วย ได้ศึกษาตัวอย่างจริงไปด้วยครับ .....อ่านต่อ

14 มิถุนายน 2564 @ โครงการ MAMA model ส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการ (พนักงานบริษัทมาม่า) ตอนที่ 15/31 @ ส่งเสริมอาชีพเลี้ยงปลาดุกและปลาทับทิมจังหวัดลำพูน: สำหรับตอน 15/31 เป็นครอบครัวคนพิการ ที่เป็นพนักงานมาม่า ที่มีความประสงค์จะเลี้ยงปลาดุกและปลาทับทิม ซึ่งไม่เคยเลี้ยง แต่มีเพื่อนบ้านที่เลี้ยงจึงมีที่ปรึกษา และที่ผ่านมาเห็นเพื่อนบ้านมีกำไรดี จึงอยากทดลองประกอบอาชีพนี้ดู เพราะดีใจมากที่ได้โอกาสจากบริษัทมาม่า ซึ่งครอบครัวนี้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจ ของโครงการ "มาม่าโมเดล" (MAMA model) ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปี 2564 นี้ครับ ผู้อ่านทุกท่านตามอ่านรายละเอียดที่ถูกต้องตามกฎหมายไปด้วย ได้ศึกษาตัวอย่างจริงไปด้วยครับ .....อ่านต่อ

14 มิถุนายน 2564 @ โครงการ MAMA model ส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการ (พนักงานบริษัทมาม่า) ตอนที่ 14/31 @ ส่งเสริมอาชีพเลี้ยงวัว จังหวัดอุบลราชธานี: สำหรับตอน 14/31 เป็นครอบครัวคนพิการ ที่เป็นพนักงานมาม่า ที่มีความประสงค์จะเลี้ยงวัว เพราะมีความถนัดเคยเลี้ยงวัวมาก่อนแล้ว มีประสบการณ์ คอกวัวอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ปรับปรุงเล็กน้อย จึงตัดสินใจใช้เงินี่ได้ทั้งหมด เพิ่มเงินอีกส่วนหนึ่ง ให้ได้วัว 4 ตัว  ซึ่งครอบครัวนี้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของโครงการ "มาม่าโมเดล" (MAMA model) ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปี 2564 นี้ครับ ผู้อ่านทุกท่านตามอ่านรายละเอียดที่ถูกต้องตามกฎหมายไปด้วย ได้ศึกษาตัวอย่างจริงไปด้วยครับ .....อ่านต่อ

13 มิถุนายน 2564 @ โครงการ MAMA model ส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการ (พนักงานบริษัทมาม่า) ตอนที่ 13/31 @ ส่งเสริมอาชีพเลี้ยงวัว จังหวัดขอนแก่น: สำหรับตอน 13/31 เป็นครอบครัวคนพิการ ที่เป็นพนักงานมาม่า ที่มีความประสงค์จะเลี้ยงวัว เพราะมีความถนัดเคยเลี้ยงวัวมาก่อนแล้ว มีประสบการณ์ คอกวัวเดิมไม่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เงินที่ได้รับการสนับสนุน ส่วนหนึ่งจะนำไปปรับปรุงคอกวัว เพราะวัวพอตกดึกต้องเข้าคอก ครอบครัวคุณลาวัน ศรีบุรินทร์  มีความมั่นใจว่าจะสามารถเลี้ยงวัวแบบเพาะสายพันธุ์์ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งครอบครัวนี้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของโครงการ "มาม่าโมเดล" (MAMA model) ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปี 2564 นี้ครับ ผู้อ่านทุกท่านตามอ่านรายละเอียดที่ถูกต้องตามกฎหมายไปด้วย ได้ศึกษาตัวอย่างจริงไปด้วยครับ .....อ่านต่อ

13 มิถุนายน 2564 @ โครงการ MAMA model ส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการ (พนักงานบริษัทมาม่า) ตอนที่ 12/31 @ ส่งเสริมอาชีพเลี้ยงวัว จังหวัดหนองบัวลำภู: สำหรับตอน 12/31 เป็นครอบครัวคนพิการ ที่เป็นพนักงานมาม่า ที่มีความประสงค์จะเลี้ยงวัว เพราะมีความถนัดเคยเลี้ยงวัวมาก่อนแล้ว มีประสบการณ์ คอกวัวเดิมไม่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เงินที่ได้รับการสนับสนุน ส่วนหนึ่งจะนำไปปรับปรุงคอกวัว เพราะวัวพอตกดึกต้องเข้าคอก ครอบครัวคุณพิสิทธิ์ พรมมี มีความมั่นใจว่าจะสามารถเลี้ยงวัวแบบเพาะสายพันธุ์์ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งครอบครัวนี้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของโครงการ "มาม่าโมเดล" (MAMA model) ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปี 2564 นี้ครับ ผู้อ่านทุกท่านตามอ่านรายละเอียดที่ถูกต้องตามกฎหมายไปด้วย ได้ศึกษาตัวอย่างจริงไปด้วยครับ .....อ่านต่อ

12 มิถุนายน 2564 @ โครงการ MAMA model ส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการ (พนักงานบริษัทมาม่า) ตอนที่ 11/31 @ ส่งเสริมอาชีพเลี้ยงจิ้งหรีด จังหวัดอุบลราชธานี: สำหรับตอน 11/31 เป็นครอบครัวคนพิการ ที่เป็นพนักงานมาม่า ที่มีความประสงค์จะให้ครอบครัวเลี้ยงจิ้งหรีด ซึ่งครอบครัวทำอยู่ก่อนแล้ว แต่มวีไม่กี่บ่อ หลังจากทราบว่าจะได้รับเงินถึง 114,245 บาท จึงวางแผนในระยะยาว ในการทำบ่อมากขึ้น และจะขยายพันธุ์จิ้งหรีด มั่นใจว่าทำให้มีรายได้มากขึ้น ถึงแม้ว่าจะยังติดปัญหาเรื่องการจัดส่งจิ้งหรีด แต่จะเดินหน้าต่อไป  ซึ่งครอบครัวนี้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของโครงการ "มาม่าโมเดล" (MAMA model) ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปี 2564 นี้ครับ ผู้อ่านทุกท่านตามอ่านรายละเอียดที่ถูกต้องตามกฎหมายไปด้วย ได้ศึกษาตัวอย่างจริงไปด้วยครับ .....อ่านต่อ

12 มิถุนายน 2564 @ โครงการ MAMA model ส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการ (พนักงานบริษัทมาม่า) ตอนที่ 10/31 @ ส่งเสริมอาชีพร้านค้าปลีก จังหวัดชลบุรี: สำหรับตอน 10/31 เป็นครอบครัวคนพิการ ที่เป็นพนักงานมาม่า ที่มีความประสงค์จะเปิดร้านค้าปลีก ซึ่งอยู่ภายในหมู่บ้าน เป็นการมีรายได้เสริม โดยพยายามหาหน้าร้านที่มีทำเลที่ดี (ใกล้ๆ โรงงานศรีราชาของบริษัทมาม่า) และจัดซื้อชั้นวางสินค้า ตู้แช่ และตู้แช่แข็ง ใหม่ทั้งหมด ซึ่งเป็นอาชีพที่เหมาะกับชุมชนในเขตเมืองครับ  ซึ่งครอบครัวนี้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของโครงการ "มาม่าโมเดล" (MAMA model) ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปี 2564 นี้ครับ ผู้อ่านทุกท่านตามอ่านรายละเอียดที่ถูกต้องตามกฎหมายไปด้วย ได้ศึกษาตัวอย่างจริงไปด้วยครับ .....อ่านต่อ


11 มิถุนายน 2564 @ โครงการ MAMA model ส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการ (พนักงานบริษัทมาม่า) ตอนที่ 9/31 @ ส่งเสริมอาชีพร้านค้าปลีก จังหวัดชลบุรี: สำหรับตอน 9/31 เป็นครอบครัวคนพิการ ที่เป็นพนักงานมาม่า ที่มีความประสงค์จะเปิดร้านค้าปลีก ซึ่งอยู่ภายในหมู่บ้าน เป็นการมีรายได้เสริม โดยได้งบประมาณในการทำหลังคาต่อเติมทำหน้าร้านจากพี่สาว และจัดซื้อชั้นวางสินค้า ตู้แช่ และตู้แช่แข็ง ใหม่ทั้งหมด ซึ่งเป็นอาชีพที่เหมาะกับชุมชนในเขตเมืองครับ  ซึ่งครอบครัวนี้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของโครงการ "มาม่าโมเดล" (MAMA model) ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปี 2564 นี้ครับ ผู้อ่านทุกท่านตามอ่านรายละเอียดที่ถูกต้องตามกฎหมายไปด้วย ได้ศึกษาตัวอย่างจริงไปด้วยครับ .....อ่านต่อ

11 มิถุนายน 2564 @ โครงการ MAMA model ส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการ (พนักงานบริษัทมาม่า) ตอนที่ 8/31 @ ส่งเสริมอาชีพเลี้ยงไก่ไข่ จังหวัดฉะเชิงเทรา: สำหรับตอน 8/31 เป็นครอบครัวคนพิการ ที่เป็นพนักงานมาม่า ที่มีความประสงค์จะให้ครอบครัวเลี้ยงไก่ไข่ เนื่องจากเป็นอาชีพที่เคยทำก่อนแล้ว มีประสบการณ์ แต่ยังขาเงินลงทุนขยายงาน เมื่อบริษัทมาม่า ให้โอกาสจึงอยากนำเงินงบประมาณตามมาตรา 35 มาดำเนินการ โดยจะแบ่งเงินส่วนหนึ่งจากการขายไข่ เก็บเป็นต้นทุนซื้อแม่ไก่ มาทดแทนแม่ไก่ที่ไม่สามารถออกไข่ได้แล้ว ซึ่งจะทำให้เป็นอาชีพที่ยั่งยืนต่อไป ซึ่งครอบครัวนี้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของโครงการ "มาม่าโมเดล" (MAMA model) ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปี 2564 นี้ครับ ผู้อ่านทุกท่านตามอ่านรายละเอียดที่ถูกต้องตามกฎหมายไปด้วย ได้ศึกษาตัวอย่างจริงไปด้วยครับ .....อ่านต่อ

10 มิถุนายน 2564 @ โครงการ MAMA model ส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการ (พนักงานบริษัทมาม่า) ตอนที่ 7/31 @ ส่งเสริมอาชีพปลูกมันสำปะหลัง จังหวัดฉะเชิงเทราสำหรับตอน 7/31 เป็นครอบครัวคนพิการ ที่เป็นพนักงานมาม่า ที่มีความประสงค์จะปลูกมันสำปะหลังเนื่องจากเป็นอาชีพที่เคยทำก่อนแล้ว มีประสบการณ์ แต่ยังขาเงินลงทุนขยายงาน เมื่อบริษัทมาม่า ให้โอกาสจึงอยากนำเงินงบประมาณตามมาตรา 35 มาดำเนินการในการปลูกมันสำปะหลัง โดยหลังเก็บเกี่ยวแล้วจะแยกทุนไว้สำหรับทำต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งจะทำใงห้เป็นอาชีพที่ยั่งยืนต่อไป ซึ่งครอบครัวนี้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของโครงการ "มาม่าโมเดล" (MAMA model) ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปี 2564 นี้ครับ ผู้อ่านทุกท่านตามอ่านรายละเอียดที่ถูกต้องตามกฎหมายไปด้วย ได้ศึกษาตัวอย่างจริงไปด้วยครับ .....อ่านต่อ

10 มิถุนายน 2564 @ โครงการ MAMA model ส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการ (พนักงานบริษัทมาม่า) ตอนที่ 6/31 @ ส่งเสริมอาชีพเลี้ยงวัวและจำหน่ายสบู่หอม จังหวัดสกลนครสำหรับตอน 6/31 เป็นครอบครัวคนพิการ ที่เป็นพนักงานมาม่า ที่มีความประสงค์จะเลี้ยงวัว และจำหน่ายสบู่หอม เพราะมีความถนัดเคยเลี้ยงวัวมาก่อนแล้ว มีประสบการณ์ ครอบครัวคุณประมวล ดวงคุณ มีความมั่นใจว่าจะสามารถเลี้ยงวัวได้แน่นอน ส่วนการจำหน่ายสบู่นั้น ก่อนหน้านี้จำหน่ายอยู่แล้วแต่ขาดทุนในการขยายกิจการ ซึ่งครอบครัวนี้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของโครงการ "มาม่าโมเดล" (MAMA model) ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปี 2564 นี้ครับ ผู้อ่านทุกท่านตามอ่านรายละเอียดที่ถูกต้องตามกฎหมายไปด้วย ได้ศึกษาตัวอย่างจริงไปด้วยครับ .....อ่านต่อ

9 มิถุนายน 2564 @ โครงการ MAMA model ส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการ (พนักงานบริษัทมาม่า) ตอนที่ 5/31 @ ส่งเสริมอาชีพเลี้ยงวัว จังหวัดสุรินทร์: สำหรับตอน 5/31 เป็นครอบครัวคนพิการ ที่เป็นพนักงานมาม่า ที่มีความประสงค์จะเลี้ยงวัว เพราะมีความถนัดเคยเลี้ยงวัวมาก่อนแล้ว มีประสบการณ์ คอกวัวเดิมไม่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เงินที่ได้รับการสนับสนุน ส่วนหนึ่งจะนำไปปรับปรุงคอกวัว เพราะวัวพอตกดึกต้องเข้าคอก ครอบครัวคุณเคือม สวัสดี มีความมั่นใจว่าจะสามารถเลี้ยงวัวแบบเพาะสายพันธุ์์ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งครอบครัวนี้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของโครงการ "มาม่าโมเดล" (MAMA model) ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปี 2564 นี้ครับ ผู้อ่านทุกท่านตามอ่านรายละเอียดที่ถูกต้องตามกฎหมายไปด้วย ได้ศึกษาตัวอย่างจริงไปด้วยครับ .....อ่านต่อ

8 มิถุนายน 2564 @ โครงการคงเหลือ ๑ ตอนที่ 3/4 ตัวอย่างที่ 3/8 การดำเนินการอาชีพร้านค้าปลีก วงเงิน 30,000 บาท จังหวัดกาฬสินธุ์ (งบประมาณจากสมาชิกอุปถัมภ์): โครงการคงเหลือ ๑  การดำเนินการอาชีพร้านค้าปลีก วงเงิน 30,000 บาท จังหวัดกาฬสินธุ์  หลังจากที่คุณเพ็ญศรี ได้รับเงินยืมเรียบร้อยแล้ว ก็ได้นำเงินก้อนนี้ไปจัดซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค 2 แห่งคือ ห้างแม็คโครจังหวัดกาฬสบินธุ์ และร้านขายข้าวสาร ที่มีคนพิการอยู่ในครอบครัว ซึ่งตรงนี้เป็นความตั้งใจของคุณเพ็ญศรี ที่จะอุดหนุนครอบครัวนี้ด้วยครับ ดังนั้นจึงนำภาพถ่ายระหว่างดำเนินการ มาฝากทุกท่านให้ได้ติดตามและนำไปปรับใช้กับตนเองได้ครับ .....อ่านต่อ

7 มิถุนายน 2564 @ โครงการ MAMA model ส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการ (พนักงานบริษัทมาม่า) ตอนที่ 4/31 @ ส่งเสริมอาชีพ ทำสมุนไพรไทย จังหวัดนครราชสีมา: สำหรับตอน 4/31 เป็นครอบครัวคนพิการ ที่เป็นพนักงานมาม่า ที่มีคุณแม่มีความพิการทางการมองเห็น (พิการสายตา) อาศัยที่จังหวัดนครราชสีมา มีความสามารถในการทำสมุนไพรไทย พนักงานมาม่าและคุณแม่จึงเสนอโครงการประอบอาชีพทำสมุนไพรสำหรับครอบครัวคนพิการเข้ามาให้พิจารณา โดยจะจัดซื้อเครื่องมือที่ทันสมัยในการทำสมุนไพร และจัดซื้อวัตถุดิบ เพื่อทำสมุนไพรจให้มีปริมาณมากขึ้น ซึ่งครอบครัวนี้เป็นอีกรจูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจ ของโครงการ "มาม่าโมเดล" (MAMA model) ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปี 2564 นี้ครับ ผู้อ่านทุกท่านตามอ่านรายละเอียดที่ถูกต้องตามกฎหมายไปด้วย ได้ศึกษาตัวอย่างจริงไปด้วยครับ .....อ่านต่อ

6 มิถุนายน 2564 @ โครงการ MAMA model ส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการ (พนักงานบริษัทมาม่า) ตอนที่ 3/31 @ ส่งเสริมอาชีพ ร้านค้าปลีก จังหวัดลำพูน: ดังนั้นในตอน 3/31 จึงเป็นครอบครัวคนพิการ ที่เป็นพนักงานมาม่า ที่มีสามีเป็นคนพิการ (นอนติดเตียง) อีกทั้งสามีของเธอ ยังเคยเป็นพนักงานบริษัทมาม่า มาก่อน เมื่อประสบอุบัติเหตุจึงกลายเป็นคนพิการที่ไม่รับรู้สิ่งใดอีกแล้ว อันเนื่องจากสมองได้รับการกระทบกระเทือนนอย่างสาหัส บริษัทมาม่าได้ให้การสรับสนุนครอบครัวนี้มาหลายปีแล้ว เพราะผู้บริหารมีนโยบายที่จะช่วยเหลือสนับสนุนอดีตพนักงานในลำดับแรก อาจเรียกได้ว่าครอบครัวพนักงานบริษัทมาม่าครอบครัวนี้ เป็นอีกตัวอย่างที่ทำให้เป็นจุเริ่มต้นของโครงการ "มาม่าโมเดล" (MAMA model) ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปี 2564 นี้ครับ ผู้อ่านทุกท่านตามอ่านรายละเอียชดที่ถูกต้องตามกฎหมายไปด้วย ได้ศึกษายตัวอย่างจริงไปด้วยครับ .....อ่านต่อ

4 มิถุนายน 2564 @ โครงการ MAMA model ส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการ (พนักงานบริษัทมาม่า) ตอนที่ 2/31 @ อาชีพเลี้ยงหมู จังหวัดกาฬสินธุ์: ดังนั้นในตอน 2/30 จึงเป็นครอบครัวคนพิการ ที่ไม่ใช่พนักงานมาม่า แต่เป็นครอบครัวที่เคยถูกสมาคม/มูลนิธิด้านคนพิการ โกงสิทธิ์ไปและไม่ได้รับความเป็นธรรม เราในฐานะที่เป็นตัวกลาง "ดับบลิวโอ" WO (Workable Organization) จึงขอนำเสนอข้อมูลให้คนพิการ ครอบครัวคนพิการ และสถานประกอบการ ได้ทราบถึงข้อมูลที่ต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง เพื่อไม่ริดรอนสิทธิตามกฎหมาย เต็มมูลค่า 114,245 บาท ตามอ่านได้เลยครับ .....อ่านต่อ

3 มิถุนายน 2564 @ โครงการ MAMA model ส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการ (พนักงานบริษัทมาม่า) ตอนที่ 1/31 @ ร้านค้าปลีก จังหวัดกาฬสินธุ์: 
ลำดับแรก เราขอนำเสนอเอกสารโครงการที่ถูกต้องในการยื่นเรื่องขอใช้สิทธิตามมาตรา 35 พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 ประกอบด้วย สัญญาโครงการ+หนังงสือยื่นขอใช้สิทธิมาตรา 35 ของคนพิการ/ผู้ดูแลคนพิการ กกจ.พก.1+สำเนาบัตรทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน ของคนพิการและผู้ดูแลคนพิการ และในกรณีนี้คนพิการพิมพ์ลายนิ้วมือ จึงต้องมีสำเนาบัตรประชาชนคนเซ็นต์ชื่อรับรองลายนิ้วมือด้วยครับ และสุดท้ายต้องมี "ใบรายะเอียดโครงการ" แต่ผมขอนำไปเขียนในบทความใหม่อีกชุดหนึ่งให้ทุกท่านทราบเพื่อเป็นแนวทางที่ถูกต้องและถูกกฎหมายต่อไปครับ .....อ่านต่อ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น