สวัสดีครับทุกท่าน สำหรับบทความชุด 31 ตอนนี้ อาจเรียกได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของประเทศไทย ในการส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการ เพราะเรามองเป็นองค์รวม เราไม่แยกคนพิการออกจากครอบครัวของเขา และบริษัท/ สถานประกอบการ ที่นับเป็นต้นแบบแรกของไทยก็ว่าได้ คือ บริษัทมาม่า หรือชื่อเต็มคือ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) นั่นเอง โดยใช้กระบวนการในการคัดเลือกและมอบสิทธิคนพิการให้กับ "พนักงานของมาม่า" โดยตรง เราจึงตั้งชื่อโครงการนี้ให้สั้นลงและสื่อถึงการเป็นต้นแบบให้กับสถานประกอบการอื่นว่า "มาม่าโมเดล" (MAMA model)
สำหรับรายละเอียดของ "มาม่าโมเดล" สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์นี้
17 มิถุนายน 2564 @ โครงการ MAMA model ส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการ (พนักงานบริษัทมาม่า) ตอนที่ 21/31 @ ส่งเสริมอาชีพเลี้ยงหมู จังหวัดราชบุรี: สำหรับตอน 21/31 เป็นครอบครัวคนพิการ ที่เป็นพนักงานมาม่า ที่มีความประสงค์จะให้ครอบครัวเลี้ยงหมู เนื่องจากมีประสบการณ์ มีคอกหมูเดิมอยู่แล้ว เพียงขาดทุนทรัพย์ในการเริ่มดำเนินการ เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และมีภาระมาก เมื่อบริษัทมาม่า ให้โอกาสจึงอยากนำเงินงบประมาณตามมาตรา 35 มาดำเนินการ อาชีพนี้ให้เป็นอาชีพที่ยั่งยืนต่อไป ซึ่งครอบครัวนี้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของโครงการ "มาม่าโมเดล" (MAMA model) ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปี 2564 นี้ครับ ผู้อ่านทุกท่านตามอ่านรายละเอียดที่ถูกต้องตามกฎหมายไปด้วย ได้ศึกษาตัวอย่างจริงไปด้วยครับ .....อ่านต่อ
4 มิถุนายน 2564 @ โครงการ MAMA model ส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการ (พนักงานบริษัทมาม่า) ตอนที่ 2/31 @ อาชีพเลี้ยงหมู จังหวัดกาฬสินธุ์: ดังนั้นในตอน 2/30 จึงเป็นครอบครัวคนพิการ ที่ไม่ใช่พนักงานมาม่า แต่เป็นครอบครัวที่เคยถูกสมาคม/มูลนิธิด้านคนพิการ โกงสิทธิ์ไปและไม่ได้รับความเป็นธรรม เราในฐานะที่เป็นตัวกลาง "ดับบลิวโอ" WO (Workable Organization) จึงขอนำเสนอข้อมูลให้คนพิการ ครอบครัวคนพิการ และสถานประกอบการ ได้ทราบถึงข้อมูลที่ต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง เพื่อไม่ริดรอนสิทธิตามกฎหมาย เต็มมูลค่า 114,245 บาท ตามอ่านได้เลยครับ .....อ่านต่อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น