11 มิถุนายน 2564 @ โครงการ MAMA model ส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการ (พนักงานบริษัทมาม่า) ตอนที่ 9/31 @ ส่งเสริมอาชีพร้านค้าปลีก จังหวัดชลบุรี

สวัสดีครับทุกท่าน สำหรับบทความชุด 31 ตอนนี้ อาจเรียกได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของประเทศไทย ในการส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการ เพราะเรามองเป็นองค์รวม เราไม่แยกคนพิการออกจากครอบครัวของเขา และบริษัท/ สถานประกอบการ ที่นับเป็นต้นแบบแรกของไทยก็ว่าได้ คือ บริษัทมาม่า หรือชื่อเต็มคือ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) นั่นเอง โดยใช้กระบวนการในการคัดเลือกและมอบสิทธิคนพิการให้กับ "พนักงานของมาม่า" โดยตรง เราจึงตั้งชื่อโครงการนี้ให้สั้นลงและสื่อถึงการเป็นต้นแบบให้กับสถานประกอบการอื่นว่า "มาม่าโมเดล" (MAMA model) 

สำหรับรายละเอียดของ "มาม่าโมเดล" สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์นี้

เรามาพบกับตอนที่ 9/31 ซึ่งเป็นครอบครัวที่ทาง บริษัทมาม่า มีการเกณฑ์การพิจารณา มอบโอกาสส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการ ให้กับพนักงานมาม่า โดยในปี 2564 ที่พิจารณาเต็มทั้งระบบ โดยพิจารณาจาก คนพิการควรเป็น "คุณพ่อ คุณแม่ พี่น้อง สามีภรรยา และลูก" ของพนักงานมาม่า หากช่วยเหลือส่งเสริมอาชีพจนครบจำนวนแล้ว จึงจะพิจารณาความสัมพันธ์ "ปู่ย่าตายาย ลุงป้าน้าอา หลาน" ของพนักงานมาม่าในลำดับต่อๆ ไป ครับ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า สถานประกอบการทั่วประเทศ ไม่จำเป็นต้องนำสิ่งดีๆ นี้ สิทธิคนพิการนี้ ที่มีมูลค่า 114,245 บาท ไปผ่านสมาคมมูลนิธิคนพิการบางแห่ง ที่ทุจริตคอรัปชั่นสิทธิคนพิการ ทำให้ได้รับสิทธิไม่เต็มจำนวน บางรายได้น้อยมาก 3,000- 5,000 บาท เท่านั้น หรือบางรายอาจไม่ได้แม้แต่บาทเดียว เพราะถูกปลอมลายเซ็นต์ครับ


สำหรับตอน 9/31 เป็นครอบครัวคนพิการ ที่เป็นพนักงานมาม่า ที่มีความประสงค์จะเปิดร้านค้าปลีก ซึ่งอยู่ภายในหมู่บ้าน เป็นการมีรายได้เสริม โดยได้งบประมาณในการทำหลังคาต่อเติมทำหน้าร้านจากพี่สาว และจัดซื้อชั้นวางสินค้า ตู้แช่ และตู้แช่แข็ง ใหม่ทั้งหมด ซึ่งเป็นอาชีพที่เหมาะกับชุมชนในเขตเมืองครับ  ซึ่งครอบครัวนี้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของโครงการ "มาม่าโมเดล" (MAMA model) ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปี 2564 นี้ครับ ผู้อ่านทุกท่านตามอ่านรายละเอียดที่ถูกต้องตามกฎหมายไปด้วย ได้ศึกษาตัวอย่างจริงไปด้วยครับ

ลำดับแรก เราขอนำเสนอเอกสารโครงการที่ถูกต้องในการยื่นเรื่องขอใช้สิทธิตามมาตรา 35 พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 ประกอบด้วย สัญญาโครงการ+หนังงสือยื่นขอใช้สิทธิมาตรา 35 ของคนพิการ/ผู้ดูแลคนพิการ กกจ.พก.1+สำเนาบัตรทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน ของคนพิการและผู้ดูแลคนพิการ และในกรณีนี้คนพิการพิมพ์ลายนิ้วมือ จึงต้องมีสำเนาบัตรประชาชนคนเซ็นต์ชื่อรับรองลายนิ้วมือด้วยครับ และสุดท้ายต้องมี "ใบรายะเอียดโครงการ" แต่ผมขอนำไปเขียนในบทความใหม่อีกชุดหนึ่งให้ทุกท่านทราบเพื่อเป็นแนวทางที่ถูกต้องและถูกกฎหมายต่อไปครับ












ลำดับที่สอง เป็นภาพถ่าย ระหว่างการดำเนินงาน ประกอบด้วย หน้าสมุดบัญชีธนาคารที่ได้รับเงิน+ภาพถ่ายระหว่างดำเนินการ เช่น การซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการทำโรงเรือนไก่ และจัดซื้อแม่ไก่+ภาพถ่ายที่ดำเนินการเสร็จแล้ว+ภาพถือป้ายได้รับมองเงิน 114,245 บาท ที่ได้รับจากบริษัทมาม่า กรณีนี้คือ ครอบครัวผู้ใช้สิทธิ์ กำลังซื้อวัสดุอุปกรณ์สำหรับการจัดเตรียมเปิดร้านค้าปลีก รวมทั้งจัดซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค  ที่ห้างแม็คโค และร้านค้าส่ง จังหวัดชลบุรี


































ลำดับที่ 3 ลำดับสุดท้ายในการนำเสนอข้อมูลที่ต้องเรียกว่า สำคัญมากๆ คือ การแสดงใบเสร็จรับเงิน หรือ ใบรับเงิน ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งกรณี "ใบรับเงิน" ของโครงการ ต้องมีสำเนาบัตรประชาชนผู้รับเงิน และสำเนาทะเบียนการค้า (ถ้ามี) มาให้ครบถ้วน หากร้านค้าใดไม่มีการออกใบรับเงิน/ใบเสร็จรับเงิน ให้กับผู้ใช้สิทธิ์ (ผู้ซื้อ) ต้องแจ้งความ ลงบันทึกประจำวัน มาแสดงแทน อันเป็นการแสดงถึงความบริสุทธิ์ใจที่ดำเนินการใช้จ่ายซื้อสินค้า วัสดุ อุปกรณ์ ครบถ้วนไม่น้อยกว่า 114,245 บาท ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ครับ





















สำหรับโครงการ MAMA model ส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการ (พนักงานบริษัทมาม่า) ตอนที่ 9/31 @ ส่งเสริมอาชีพร้านค้าปลีก จังหวัดชลบุรี เป็นอีกตัวอย่างที่ถูกต้อง ถูกกฏหมาย คนพิการ/ ผู้ดูแลคนพิการ/ ครอบครัวคนพิการ ได้รับสิทธิครบถ้วน มูลค่า 114,245 บาท ผมอยากให้ทุกฝ่าย โดยเฉพาะสถานประกอบการทั่วประเทศ ดูไว้เป็นตัวอย่าง เพราะหากท่านนำโครงการดีๆ แบบนี้ ไปผ่านสมาคมคนพิการ มูลนิธิคนพิการ ที่ทุจริตคอรัปชั่น บริษัทของท่าน ก็จะตกอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะกระทำผิดกฎหมาย ต้องไปจ่ายเงินซ้ำเข้ากองทุนส่งเสริมคนพิการฯ พร้อมดอกเบี้ยค่าปรับ 

ต้องขอขอบพระคุณผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารทุกฝ่าย จนท.ฝ่ายบุคคล ทุกท่าน ทุกโรงงานของบริษัทมาม่า ที่ได้ทุ่มเท ร่วมมือกันจน โครงการ MAMA model ส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการ (พนักงานบริษัทมาม่า) ประสบความสำเร็จ จนเป็นต้นแบบสำคัญให้กับสถานประกอบการทั่วประเทศ และเป็นการช่วยเหลือครอบครัวคนพิการให้ได้รับสิทธิครบถ้วนเ ตามมูลค่า 114,245 บาท อย่างแท้จริง ครับ

"ดับบลิวโอ WO ของเรา พร้อมให้คำปรึกษาที่ถูกต้อง ถูกกฎหมาย กับสถานปรจะกอบการทุกแห่งครับ

ผู้จัดการ องค์กรดับบลิวโอ
คนทุพพลภาพมืออาชีพ
086-314-7866







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น