ครอบครัวคุณอรสา ได้รับสิทธิตามมาตรา 35 มูลค่า 112,420 บาท ในการทำธุรกิจร้านซักอบรีดที่ จ.ลำพูน จากบริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน)


สวัสดีครับทุกท่าน สำหรับบทความนี้ทางเรา Workable Organization อยากแบ่งปันเรื่องราวของคุณอรสาและครอบครัว ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดลำพูน คุณอรสาและครอบครัวที่มีคุณพ่อคุณแม่ของสามี ต้องช่วยกันดูแลสามีที่พิการหลังประสบอุบัติเหตุ ติดเตียงและไม่สามารถสื่อสารตอบกลับมาได้เลย อย่างยากลำบาก ความทุกข์ที่มีนั้น ทำให้ท้อและเหนื่อย แต่ทุกๆ อย่างดีขึ้น มีกำลังใจมากขึ้น เพราะ ได้รับโอกาสจากบริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบรนด์ “มาม่า” เชิญอ่านบทสัมภาษณ์ของคุณอรสา เพื่อประกอบการตัดสินใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกกับเราครับ
……………………………………
คำถาม: คุณอรสาครับ ผมอยากให้ช่วยเล่าย้อนหลังไปให้ทุกท่านทราบถึงเรื่องราวครอบคุณอรสา ด้วยครับ
คุณอรสา: (เริ่มวร้องไห้) ก็..... เป็นพนักงานบริษัทค่ะ เราทำงานที่เดียวกันค่ะ อยู่ที่ลำพูน สามีทำงานในห้องแล็ป ส่วนตัวเองทำงานสายการผลิต (ยังคงร้องไห้) แล้วสามีก็ประสบอุบัติเหตุ มีรถมาชนหลังกลับจากทำงานค่ะ (ร้องไห้... หยุดพูด พูดไม่ได้) เป็นทางสมองค่ะ ส่วนตัวไม่รู้เหตุการณ์เพราะตัวเองกำลังคลอดลูกอยู่ที่โรงพยาบาล (ร้องไห้มากขึ้น) จับผู้ร้ายไม่ได้ค่ะ จากนั้นสามีก็ไม่ได้ไปทำงานเพราะทำงานไม่ได้แล้ว ผ่านมาสามปีแล้ว ตอนนี้ทำงานคนเดียวค่ะ ต้องดูแลสามีกับคุณพ่อคุณแม่ของสามี เมื่อก่อนสามีทำงานเป็นเวลาสำนักงาน ส่วนตัวเองทำงานแบบเข้ากะ เพราะอยู่ฝ่ายผลิต สามีอยู่บนเตียงนอนไม่รู้เรื่อง (ร้องไห้หนัก) มีภาระหนี้สิน (ร้องไห้ หยุดพูด) แล้วยังต้องเลี้ยงลูก ลำบากค่ะ (ร้องไห้)

คำถาม: ระหว่างที่คุยทราบว่า คุณอรสาไม่รู้จักมาตรา 35 พอทางบริษัทเรียกไปคุยเป็นอย่างไรบ้างครับ
คุณอรสา: ค่ะ พี่ผู้จัดการฝ่ายบุคคลและหัวหน้าแผนกเรียกไปคุยค่ะ ว่าที่บริษัทมีโครงการค่ะ เป็นโครงการมาตรา 35 (ร้องไห้มีปนเสียงดีใจขึ้นมาเล็กน้อย) ดีใจมากเลยค่ะ ดีใจจนร้องไห้

เล่าให้คุณอรสาฟัง: ผมอยากเล่าให้ฟังตรงนี้นะครับ คือตอนที่ผมไปร่วมประชุมกับผู้บริหาร ผู้จัดการของทางมาม่า และเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง ผมเสนอไปว่า บริษัทควรค้นหาคนพิการที่ไม่มีบัตรคนพิการก่อน เพราะว่าใบรับรองแพทย์ใช้แทนสิทธิ์บัตรคนพิการได้ จากนั้นให้ค้นหาว่าในบริษัทมีพนักงานปกติของบริษัทที่มีคนพิการในครอบครัวหรือไม่ ให้นำสิทธิตามมาตรา 35 ช่วยเหลือเลย คุณสรยุทธ (ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายทรัพยากรมนุษย์) จึงพูดถึงอดีตพนักงาน 2 รายที่ประสบอุบัติเหตุจนพิการนอนติดเตียง ว่าตัวผมมีคนพิการในใจไหม ให้อดีตพนักงาน 2 รายนี้ได้ไหม ผมรีบตอบคุณสรยุทธ ว่าได้ครับ ผมไม่มีคนพิการคนไหนในใจ ผมช่วยทั้งหมด และอดีตพนักงาน 2 รายนี้ ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าทางบริษัทควรให้โอกาสพวกเขาและครอบครัวครับ เรื่องเอกสารผมจะดูแลให้เองครับ

คุณอรสา: สมัยก่อนพี่สรยุทธ อยู่ลำพูน แล้วย้ายไปอยู่กรุงเทพ ตอนที่พี่ๆ เรียกไปคุยดีใจมาก ตัดสินใจทำโครงการธุรกิจซักอบรีด มีเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ พอได้รายได้มาแบ่งเบาภาระของครอบครัว (สะอึกๆ จากการร้องไห้ แต่ไม่ร้องหนักแล้ว) ปีนี้ทางบริษัทก็จะช่วยอีกปีค่ะ ดีใจมากค่ะ (ร้องไห้)

โต้ตอบชวนคุย: ผมเข้าใจทางผู้ใหญ่นะครับ คงเห็นว่าคุณอรสากับครอบครัวลำบาก เพราะสามีพิการตลอดชีวิต ทำอะไรไม่ได้เลย ไม่ใช่ว่าป่วยแล้วจะหายกลับมาปกติได้อีก ต้องอยู่กันไปอย่างนี้ ผมเข้าใจดีเพราะว่าผมก็พิการค่อนข้างหนักเหมือนสามีคุณอรสา เพียงแต่ผมโชคดีที่สมองไม่ได้รับการกระทบกระเทือน ผมฟังเรื่องคุณอรสา แล้วนึกถึงหนังภาพยนต์เรื่อง “แอบปี้เบิร์ดเดย์” ที่พระเอกต้องดูแลนางเอกไปตลอดชีวิตจนแก่เฒ่า

คำถาม: ผมอยากให้คุณอรสา เล่าถึงตอนที่ทางบริษัท เรียกไปคุยเรื่องสิทธิคนพิการที่เรียกมาตรา 35 หน่อยครับ รู้สึกอย่างไรบ้างครับ ดูเหมือนคุณอรสายังมีอะไรอยากจะพูดต่อครับ
คุณอรสา: ค่ะ รู้สึกเลยว่าบริษัทไม่ทิ้งเรา (เริ่มร้องไห่เยอะขึ้นอีกครั้ง) พี่ๆ และผู้จัดการทุกท่านดีมากค่ะ ให้กำลังใจตลอด ทั้งที่อยู่ลำพูน ทั้งที่กรุงเทพฯ เวลามาที่ลำพูนก็จะเขข้ามาถามถึงเป็นห่วงตลอด มาเยี่ยมถึงที่บ้าน (ร้องไห้ประมาณซาบซึ้งใจ)

คำถาม: อยากให้คุณอรสา กล่าวถึงผู้บริหารของบริษัทมาม่าที่ได้ให้โอกาสตามสิทธิมาตรา 35 ด้วยครับ
คุณอรสา: ค่ะ ครอบครัวเราขอขอบพระคุณทางบริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ที่ได้ให้ความช่วยเหลือ (ร้องไห้มากอีกครั้ง) คือ ทางบริษัทไม่ลืมพนักงานคนหนึ่ง (เงียบพูดไม่ออก ร้องไห้หนัก) ทำให้มีกำลังใจ ที่จะเลี้ยงลูก (ร้องไห้หนัก) ขอบคุณพี่ๆ ที่ลำพูน ที่กรุงเทพฯ พี่สรยุทธ ที่ไม่ลืม มาถึงก็มาเยี่ยม ผู้ใหญ่ผู้บริหารทุกท่านที่มีนโยบายช่วยอดีตพนักงาน

คำถาม: สำหรับเป็นคำถามที่ผมอยากให้คุณอรสาเล่าถึงบรรยากาศในบริษัทที่จังหวัดลำพูนว่าเป็นอย่างไรบ้างเมื่อทราบเรื่องที่มีการช่วยครอบครัวคุณอรสา ครับ
คุณอรสา: ค่ะ จะทราบกันเยอะค่ะ เวลามีอบรมก็จะมีการพูดถึงโครงการที่ให้ความช่วยเหลือครอบครัวเรา ในกลุ่มพนักงานมีการพูดคุยกันว่า ทางบริษัทไม่ทิ้งถึงเป็นอย่างนี้แล้วก็ยังดูแล แต่บริษัทอื่นคงไม่ดูแลแบบนี้ (ยังคงร้องไห้อยู่)

คำถาม: เกือบจะสุดท้ายแล้วครับ อยากให้พูดถึงสักเล็กน้อยเรื่องเกี่ยวกับทางเครือข่ายที่เข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยคุณอรสาด้วยครับ
คุณอรสา: ค่ะ ต้องขอขอบคุณคุณปรีดาและเครือข่ายที่มาช่วยเหลือครอบครัวเราเรื่องเอกสาร ช่วยประสานงานทุกเรื่อง จากที่ไม่มีความรู้อะไรเลย (ร้องไห้อยู่) ขอบคุณจากใจจริงๆ ค่ะ

อยากแบ่งปันให้ฟัง: ไม่ต้องกังวลใจอะไร ตัวผมเต็มใจเรื่องนี้ ผมชอบทำบุญ และผมเชื่อว่า ความปราณีของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ยังให้โอกาสผมได้กลับมาช่วยเหลือ ใช้ความคิดที่ยังดีอยู่กับทุกๆ เรื่อง
คุณอรสา: ค่ะ ก็ขอให้ความดีคุ้มครอง ขอให้โครงการที่คุณปรีดาทำอยู่ สำเร็จลุล่วง ไม่มีอุปสรรค

คำถาม: คำถามสุดท้ายแล้วครับ คุณอรสา สนใจเข้าร่วมโครงการ Workable Organization ร่วมทุนเดือนละ 500 บาท ไหมครับ
คุณอรสา: ค่ะ สนใจค่ะ ยินดีเข้าร่วมโครงการเพื่อให้ทางคุณปรีดา นำเงินตัวนี้ไปช่วยเหลือคนพิการท่านอื่นๆ ค่ะ

คำถาม: ผมขออนุญาต คุณอรสา ให้เบอร์มือถือไว้ เพื่อผู้อ่านท่านไหน อยากโทรมาพูดคุยสอบถาม ว่าได้รับจริงไหมสิทธิตามมาตรา 35 เงินเป็นแสน คุณปรีดามาตัดหัวคิวไปหรือเปล่า เพราะมีคนใส่ร้ายผมเยอะทั้งฝ่ายตรงข้ามทั้งพวกข้าราชการที่รู้เห็นการโกงของพวกนายกสมาคมต่างๆ จะได้หายข้องใจกัน
คุณอรสา: ได้ค่ะ สามารถโทรมาสอบถามได้ อรสา กาปัญญา 088-252-1495
.........................................

คุณพน่อคุณแม่ ของคุณสราวุธ กาปัญญา ที่ได้ใช้สิทธิ์ตามมาตรา 35 ครับ

เป็นธุรกิจซักอบรีด โดยมีเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ อยู่ในโครงการด้วยครับ

ครับสำหรับบทความนี้เป็นอีกครั้งที่ผู้ถูกสัมภาษณ์ร้องไห้ตลอดเวลาการให้สัมภาษณ์ ผมต้องขอขอบพระคุณผู้บริหารระดับสูง ผู้จัดการทุกระดับ หัวหน้างานที่เกี่ยวข้อง ของบริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ที่ได้ให้โอกาสกับครอบครัวอดีตพนักงานของบริษัทเองอย่างมาก โอกาสดีๆ เหล่านี้สมควรอย่างยิ่งที่ครอบครัวคุณอรสา ได้รับครับ

ส่วนตัวผมเชิญชวนคนพิการและครอบครัวนะครับ ในการเข้าร่วมโครงการกับเรา Workable Organization ร่วมสมัครเป็นสมาชิกกับเรา อ่านรายละเอียดทั้งหมดก่อนตัดสินใจที่ลิงก์เว็บไซต์นี้ครับ https://workableorganization.blogspot.com/





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น